หากให้มืออาชีพมาบริหารธุรกิจครอบครัว “ความเป็นเจ้าของธุรกิจ” จะยังคงอยู่หรือไม่

หากมีความจำเป็นที่จะต้องยก “ความเป็นเจ้าของ” ให้กับสมาชิกในครอบครัว หรือทายาทเท่านั้น แต่ต้องแยกส่วนของการบริหารจัดการให้กับทีมบริหารมืออาชีพ เพื่อดูแลองค์กรธุรกิจครอบครัว เรื่องนี้อาจยากทำใจ หรืออาจต้องมาประเมินว่า “จะได้หรือเสีย” มากกว่ากัน

ทั้งนี้ รศ.ดร.เอกชัย อภิศักดิ์กุล คณบดี คณะวิทยพัฒน์ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย และผู้ก่อตั้ง FAMZ บริษัทที่ปรึกษาธุรกิจครอบครัวชั้นนำของประเทศไทย ได้ให้ความเห็นกับการเปิดทางให้ทีมบริหารมืออาชีพเข้ามาบริหารองค์กรของธุรกิจครอบครัวว่า

“การที่ทีมบริหารมืออาชีพเข้ามาบริหารธุรกิจกลับจะยิ่งช่วยให้ธุรกิจครอบครัวมีความสามารถทางการแข่งขัน และมีศักยภาพได้ดี มีความเป็นมืออาชีพมากกว่า ทั้งนี้ เมื่ออ้างอิงจากผลการศึกษากรณีดังกล่าวจากทั่วโลกก็บ่งชี้ในทิศทางเดียวกันว่า ธุรกิจครอบครัวอาจมีผลประกอบการต่ำ หรือขาดความทะเยอทะยานได้ ทว่า หากบริหารโดยสมาชิกในครอบครัคนที่ไม่ใช่สมาชิกในครอบครัวจะสามารถผลักดันธุรกิจให้เติบโตอย่างรวดเร็วกว่า รวมถึงการสร้างนวัตกรรม การขยายตัวไปต่างประเทศ การกระจายธุรกิจก็จะทำได้ดีกว่า เนื่องจากมืออาชีพจะให้ความสำคัญกับความสามารถทางการแข่งขัน และการทำธุรกิจเป็นภารกิจอันดับต้นๆ ต่างจากสมาชิกในครอบครัว ซึ่งมักจะมุ่งโฟกัสที่ครอบครัว ชุมชนและการสร้างตำนานของธุรกิจครอบครัวกับโลกมากกว่า”

การบริหารธุรกิจอย่างมืออาชีพเป็นสิ่งสำคัญ แต่ไม่เพียงพอที่จะอยู่รอดได้ในระยะยาว สิ่งสำคัญที่สุดที่ต้องตระหนักคือต้องทำให้เป็นมืออาชีพทั้งธุรกิจและครอบครัวด้วยให้ความเห็นเพิ่มเติมว่า “ถ้าต้องการให้ธุรกิจมีความเป็นมืออาชีพจริงๆ ก็ควรต้องมีมืออาชีพมากๆ  ที่สำคัญ หากมองในระยะยาว การที่ธุรกิจครอบครัวดึงดูดคนที่มีความสามารถเข้ามา ตลอดจนการให้ขอบเขตและให้เวลาในการพิสูจน์ตนเองของผู้บริหาร โดยเฉพาะช่วงระยะเวลาที่ดำรงตำแหน่งซีอีโอนั้นจะต้องใช้เวลาหลายปี อย่างกรณีอ้างอิงจาก Fortune 500 ก็ใช้เวลาประมาณ 5 ปี ขณะที่ Harvard Business Review ระบุว่า ช่วงระยะเวลาในการดำรงตำแหน่งที่เหมาะสมของซีอีโอคือ 4.8 ปี หลังจากนั้น การทำงานจะเริ่มมีบางอย่างลดลง ซึ่งธุรกิจครอบครัวจะต้องตระหนักถึงเรื่องนี้ให้ดีอย่างไรก็ตาม มีข้อควรระวังสำหรับมืออาชีพที่ได้รับการสรรหาเข้ามาก็คือ จะต้องแสดงบทบาทของตนเองอย่างระมัดระวังในธุรกิจครอบครัว เนื่องจากอาจจะต้องเผชิญกับประเด็นความซับซ้อน หรืออ่อนไหวที่อาจต้องขับเคี่ยวกับสมาชิกในครอบครัว ทั้งที่อยู่ในและนอกบอร์ดบริหาร”

อย่างไรก็ตาม การที่มีมืออาชีพเข้ามาในธุรกิจเพิ่มขึ้น เจ้าของธุรกิจครอบครัวก็ยังสามารถกำกับ หรือดูแลธุรกิจในภาพรวมได้ นอกจากนี้  ยังมีผลงานวิจัยสนับสนุนอีกด้วยว่า ถ้าเจ้าของธุรกิจเข้ามาเป็นคณะกรรมการ เข้ามาร่วมตัดสินใจ ร่วมรับความเสี่ยง/รับภาระ ฯลฯ บริษัทก็จะมีอัตราการเติบโตที่ดีกว่าการปล่อยให้ผู้อื่นเข้ามามีส่วนตัดสินใจและบริหาร เนื่องจากมืออาชีพนั้นไม่ได้อยู่กับธุรกิจถาวรเหมือนเจ้าของธุรกิจ ดังนั้น หนึ่งในคำมั่นสัญญาที่สำคัญ คือ การที่เจ้าของธุรกิจเข้ามาร่วมกันแก้ไขปัญหา และกำหนดทิศทางของธุรกิจ”

ทั้งนี้   ความเป็นธุรกิจครอบครัวก่อนจะตัดสินใจเรื่องสำคัญทางธุรกิจ ครอบครัวมักจะหารือกันก่อนในที่ประชุมครอบครัว เช่น สภาครอบครัวหรือสภาธุรกิจ แล้วจึงจะนำเสนอคณะกรรมการบริษัทหรือที่ประชุมผู้ถือหุ้น ซึ่งปกติเสียงของครอบครัวมักจะดังเสมอในทุกๆ ประชุมของบริษัท

รศ.ดร.เอกชัยกล่าวในตอนท้ายว่า ในฐานะที่ FAMZ เป็นบริษัทที่ปรึกษาธุรกิจครอบครัว มองว่า การบริหารธุรกิจอย่างมืออาชีพเป็นสิ่งสำคัญ แต่ไม่เพียงพอที่จะอยู่รอดได้ในระยะยาว สิ่งสำคัญที่สุดที่ต้องตระหนัก คือ ต้องทำให้ธุรกิจครอบครัวเป็นมืออาชีพทั้งในส่วนของ “ธุรกิจ” และ “ครอบครัว” ด้วย

About Kansuchaya Suvanakorn

ผู้สื่อข่าวสายเศรษฐกิจมาเกือบ 30 ปี

View all posts by Kansuchaya Suvanakorn →

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *